เมนู

พระเนตรเห็นทั้งสองอย่างนั้นแล้ว. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวคำนี้ว่า
ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะความเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ ด้วยการเห็นความจุติและ
ความอุปบัติ (แห่งสัตว์ทั้งหลาย) ดังนี้.

[ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้าปราศจากอุปกิเลส 11 อย่าง]


อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะเว้นจากอุปกิเลส (เครื่องเศร้า
หมองจิต) 11 อย่าง. จริงอยู่ ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้า เว้นแล้ว
จากอุปกิเลส 11 อย่าง. เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อน
อนุรุทธะนันทิยะและกิมพิละทั้งหลาย*! เรานั้นแล รู้แล้วว่า วิจิกิจฉา เป็น
เครื่องเศร้าหมองจิต จึงละวิจิกิจฉา เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า อมนสิการ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละอมนสิการ
เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ถึงมิทธิ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละถินมิทธะเครื่อง
เศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ความหวาดเสียว เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความ
หวาดเสียว เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ความตื่นเต้น เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความตื่นเต้น
เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ความชั่วหยาบ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละความชั่วหยาบ
เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละ
ความเพียรที่ปรารภเกินไป เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
* ในอุปกิเลสสูตร มีพระอนุรุทธะ พระนันทิยะ และพระกิมพิละ 3 ท่านเข้าไปเฝ้า, แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสออกชื่อท่านอนุรุทธะรูปเดียวที่เป็นหัวหน้า ใช้พหุวจนะ เช่น สาริปุตตา
เป็นต้น.

รู้แล้วว่า ความเพียรที่หย่อนเกินไป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละ
ความเพียรที่หย่อนเกินไป เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า ตัณหาที่คอยกระซิบ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละตัณหา
ที่คอยกระซิบ เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า มานัตตสัญญา (คือความสำคัญสภาวะเป็นต่าง ๆ กัน)
เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละนานัตตสัญญา เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
รู้แล้วว่า กิริยาที่เพ่งดูรูปเกินไป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต จึงละกิริยา
ที่เพ่งรูปเกินไป เครื่องเศร้าหมองจิตเสียได้.
ดูก่อนอนุรุทธะนันทิยะและกิมพิละทั้งหลาย ! เรานั้นแล เป็นผู้ไม่
ปรามาส มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียว
เทียวแล แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย เห็นแต่รูปอย่างเดียวเทียวแล แต่ไม่รู้สึก
แสงสว่าง* ดังนี้เป็นต้น
ญาณจักษุนั้น (ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น) ชื่อว่าบริสุทธ์
เพราะเว้นจากอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมองจิต) 11 อย่าง ดังพรรณนามาฉะนี้.
ชื่อว่า ล่วงจักษุของมนุษย์ เพราะเห็นรูปล่วงเลยอุปจารแห่งมนุษย์
ไป.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ชื่อว่าอติกกันตมานุสกะ เพราะล่วงเลย
มังสจักษุของมนุษย์ไป. ด้วยทิพยจักษุนั้นอันบริสุทธ์ล่วงเลยเสีย ซึ่งจักษุของ
มนุษย์.
สองบทว่า สตฺเต ปสฺสามิ ความว่า เราย่อมดู คือย่อมเห็น ได้แก่
ตรวจดูสัตว์ทั้งหลาย (ด้วยทิพยจักษุ) เหมือนมนุษย์ ดูด้วยมังสจักษุฉะนั้น.
* ม. อุปริ. 14 / 306-307

ในคำว่า จวมาเน อุปปชฺชมาเน เป็นต้นนี้ วินิจฉัยดังนี้ :-
ใคร ๆ ไม่สามรถเพื่อจะเห็นสัตว์ทั้งหลายได้ ด้วยทิพย์จักษุในขณะ
จุติหรือในขณะอุปบัติ แต่สัตว์เหล่าใด ผู้ใกล้ต่อจุติอยู่ว่า จักจุติเดี๋ยวนี้ สัตว์
เหล่านั้น ท่านประสงค์ว่า กำลังจุติ และสัตว์เหล่าใด ผู้ถือปฏิสนธิแล้ว
หรือผู้เกิดแล้วบัดเดี๋ยวนี้ สัตว์เหล่านั้นท่านก็ประสงค์ว่า กำลังจะอุปบัติ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราย่อมเล็งเห็นสัตว์เหล่านั้น คือเห็นปานนั้น
ผู้กำลังจุติและผู้กำลังอุปบัติ ดังนี้.
บทว่า หีเน ความว่า ผู้ถูกเขาติเตียน คือดูหมิ่น เหยียดหยาม
ด้วยอำนาจชาติตระกูลและโภคะเป็นต้น ที่ชื่อว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้
ประกอบด้วยผลวิบากแห่งโมหะ.
บทว่า ปณีเต ความว่า ผู้ตรงกันข้ามจากบุคคลเลวนั้น เพราะ
ความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งอโมหะ.
บทว่า สุวณฺเณ ความว่า ผู้ประกอบด้วยผิวพรรณ ที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ และน่าชอบใจ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งอโทสะ.
บทว่า ทุพฺพณฺเณ ความว่า ผู้ประกอบด้วยผิวพรรณที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ และไม่น่าชอบใจ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งโทสะ.
อธิบายว่า ผู้มีรูปแปลกประหลาดจากผู้ที่มีรูปสวย ดังนี้บ้าง.
บทว่า สุคเต ได้แก่ ผู้ไปสู่สุคติ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้มั่งคั่ง
คือมีทรัพย์มาก เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งอโลภะ.
บทว่า ทุคฺคเต ได้แก่ ไปสู่สุคติ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้ยากจน
คือมีข้าวและน้ำน้อย เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยผลวิบากแห่งโลภะ.

บทว่า ยถากมฺมูปเค ได้แก่ ผู้เข้าถึงตามกรรมที่คนเข้าไปสั่งสม
ไว้แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกิจแห่งทิพยจักษุด้วยบท
ต้น ๆ ว่า จวมาเน เป็นอาทิ. อนึ่ง กิจแห่งยถากัมมูปตฌาณ (ญาณเครื่อง
รู้สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรม) ก็เป็นอันตรัสแล้วด้วยบทนี้.

[ลำดับความเกิดขึ้นแห่งยถากัมมูปคญาณ]


ก็ลำดับความเกิดขึ้นแห่งญาณนั้น มีดังต่อไปนี้ :-
(ภิกษุในพระศาสนา1นี้) เจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าต่อนรกเบื้องต่ำ
แล้ว ย่อมเห็นสัตว์นรกทั้งหลาย ผู้ตามเสวยทุกข์อย่างใหญ่อยู่. การเห็นนั้น
จัดเป็นกิจแห่งทิพยจักษุโดยแท้. เธอนั้นใฝ่ใจอยู่อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ ทำกรรม
อะไรหนอแล จึงได้ตามเสวยทุกข์อยู่อย่างนี้ ? ลำดับนั้น ญาณอันมีกรรมนั้น
เป็นอารมณ์ ก็เกิดขึ้นแก่เธอนั้นว่า เพราะทำกรรมชื่อนี้. อนึ่ง เธอนั้น
เจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าต่อเทวโลกเบื้องบนแล้ว ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายใน
สวนนันทวัน มิสสกวัน และปารุสกวัน เป็นต้น ผู้เสวยสมบัติอย่างใหญ่อยู่
การเห็นแม้นั้นจัดเป็นกิจแห่งทิพยจักษุโดยแท้. เธอนั้นใฝ่ใจอยู่อย่างนี้ว่า
"สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรหนอแล จึงได้เสวยสมบัติอย่างนี้ ?" ลำดับนั้น
ญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้นแก่เธอนั้นว่า "เพราะทำกรรมชื่อนี้."
นี้ชื่อว่า ยถากัมมูปคญาณ (ญาณเครื่องรู้สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรม). ชื่อว่าการ
บริกรรมแผนกหนึ่งแม้แห่งยถากัมมูปคญาณนี้ก็ไม่มี. ยถากัมมูปคญาณนี้ ไม่มี
การบริกรรมไว้แผนกหนึ่งแม้ฉันใด แม้อนาคตดังสญาณก็ไม่มีฉันนั้น. จริงอยู่
ญาณเหล่านี้ 2 ที่เป็นบาทแห่งทิพยจักษุนั่นแล ย่อมสำเร็จพร้อมกับทิพยจักษุ
นั่นเอง.
1. ฎีกาปรมัตถมัญชุสา 2 / 330 อิมานิ ศัพท์นี้เป็น อิมินา ในวิสุทธิมรรคก็เป็น อิมินา.
2. วิสุทธิมรรค 2 / 269 มีศัพท์ว่า อิธ ภิกฺขุ จึงได้แปลไว้ตามนั้น เพราะความชัดดี.